Last updated: 12 พ.ค. 2566 | 6742 จำนวนผู้เข้าชม |
นักธุรกิจหรือผู้ประกอบการร้านอาหารส่วนใหญ่ ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การลงทุนในธุรกิจทุกประเภทมีความเสี่ยง แม้ธุรกิจหรือการขายสินค้าที่เกี่ยวกับของกินจะถูกมองว่ายังสามารถสร้างผลกำไรให้กับผู้ประกอบการได้ดี แต่การบริหารร้านอาหารให้ประสบความสำเร็จก็ขึ้นอยู่กับหลายองค์ประกอบ โรงงานรับผลิต OEM หรือการจ้างผลิต และการมีโรงงานผลิตเป็นของตนเอง ก็เป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมากต่อธุรกิจร้านอาหารและฟู้ดส์เซอร์วิส
ปัจจุบันสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่จำหน่ายอยู่ในตลาดและเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยม ส่วนใหญ่จะเป็นแบรนด์ผลิตภัณฑ์ซึ่งผู้ประกอบการขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่จะสร้างแบรนด์ของตนเองขึ้นมา เพื่อสร้างการจดจำให้กับลูกค้า มีทั้งสินค้าประเภทเสื้อผ้าแฟชั่น อาหารเสริม อาหารบำรุงร่างกาย เครื่องสำอาง ขนม เครื่องดื่ม และสินค้าประเภทอาหาร โดยมีทั้งการสร้างโรงงานผลิตเป็นของตนเอง และการจ้างโรงงานรับผลิต ซึ่งทั้งสองรูปแบบมีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกัน ดังนี้
การมีโรงงานผลิตเป็นของตนเอง ถือเป็นกระบวนการหนึ่งของผู้ประกอบการหรือนักธุรกิจที่
ต้องการมีแบรนด์สินค้าเป็นของตนเอง โดยเหตุผลหลักในการสร้างโรงงานผลิตเป็นขององค์กร ก็เพื่อส่งผลต่อการเติบโตขององค์กรธุรกิจในระยะยาว เพราะสามารถบริหารคลังสินค้าได้ดีทั้งคุณภาพการผลิต คุณภาพของสินค้าที่ได้มาตรฐาน ช่วยให้การส่งออกและกระจายผลิตภัณฑ์ไปถึงลูกค้าเป้าหมายเป็นเรื่องง่ายขึ้น แต่การจะสร้างโรงงานเป็นของตัวเองนั้นไม่ใช่ว่าจะทำได้ง่ายๆ เพราะมีปัจจัยมากมายให้ต้องพิจารณา เช่น
1. ประเภทของโรงงานและการยื่นคำขออนุญาต
ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ได้แบ่งโรงงานออกเป็น 3 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะ
มีขนาดเครื่องจักร และจำนวนคนงานแตกต่างกัน และส่งผลต่อการยื่นคำขออนุญาตแตกต่างกัน ดังนี้
- ประเภทที่ 1 ได้แก่ โรงงานที่เครื่องจักรมีกำลังไม่เกิน 20 แรงม้าหรือเทียบเท่า และมีคนงาน
ไม่เกิน 20 คน หากเป็นโรงงานประเภทนี้สามารถดำเนินกิจการได้ทันทีโดยไม่ต้องยื่นขอ
อนุญาต
- ประเภทที่ 2 ได้แก่ โรงงานที่เครื่องจักรมีกำลังมากกว่า 20 แรงม้า แต่ไม่เกิน 50 แรงม้าหรือ
เทียบเท่า และมีคนงานมากกว่า 20 คน แต่ไม่เกิน 50 คน โรงงานประเภทนี้สามารถดำเนิน
กิจการได้ทันทีโดยไม่ต้องยื่นขออนุญาต แต่จะต้องมีการชำระค่าธรรมเนียมรายปีในทุก ๆ ปี
- ประเภทที่ 3 ได้แก่ โรงงานที่เครื่องจักรมีกำลังเกินกว่า 50 แรงม้า และมีคนงานมากกว่า 50
คน หรือเป็นกิจการที่ก่อให้เกิดมลพิษจากการผลิต โรงงานประเภทนี้จำเป็นต้องขอใบอนุญาต
ก่อนจึงจะดำเนินกิจการได้ ซึ่งรวมถึงโรงงานประเภทที่ 1 และ 2 หากประกอบกิจการที่ก่อให้
เกิดมลพิษ ก็ให้จัดเป็นจำพวกเดียวกับโรงงานประเภทที่ 3 ที่ต้องขอใบอนุญาตก่อนจึงจะ
ดำเนินกิจการได้ เช่นเดียวกัน
2. ตรวจสอบข้อห้ามสถานที่ตั้ง
การจัดสร้างโรงงานไม่ใช่ทุกสถานที่จะมารถทำการปลูกสร้างโรงงานได้ เพราะเมื่อทราบ
ประเภทของโรงงานที่ต้องการสร้างแล้ว ก็ต้องมาดูกันว่าโรงงานแต่ละประเภทสามารถจัดตั้งได้ที่บริเวณใดได้บ้าง เช่น
- โรงงานทุกประเภท ห้ามจัดตั้งภายในบริเวณหมู่บ้านจัดสรร อาคารชุด หรือภายในหมู่บ้าน
สำหรับพักอาศัย
- โรงงานประเภทที่ 1 และ 2 ห้ามก่อตั้งกิจการในระยะ 50 เมตรจากเขตติดต่อสาธารณะสถาน
ได้แก่ โรงเรียน โรงพยาบาล วัด โบราณสถาน และแหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
- โรงงานประเภทที่ 3 ห้ามก่อตั้งกิจการในระยะ 100 เมตรจากเขตติดต่อสาธารณะสถาน และ
ต้องอยู่ในสถานที่และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีบริเวณเพียงพอ ไม่ก่อให้เกิดอันตราย เหตุ
รำคาญ หรือความเสียหายต่อบุคคล หรือทรัพย์สินของผู้อื่น
3. การเลือกสรรผู้รับเหมาก่อสร้าง
ปัญหาสำคัญที่เจ้าของอาคารสิ่งปลูกสร้างมักพบเจอก็คือปัญหาผู้รับเหมาทิ้งงาน หรืองาน
ก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน การเลือกสรรผู้รับเหมา จึงควรเลือกผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์ในการสร้างโรงงานโดยเฉพาะ เนื่องจากการสร้างโรงงานนั้น ไม่ได้มีโครงสร้างเหมือนกับสิ่งปลูกสร้างทั่วไป ผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์ด้านนี้จึงสามารถทำได้ดีกว่า
4. สำรวจเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อโรงงาน
การสร้างโรงงาน เครื่องจักรและอุปกรณ์คือส่วนประกอบสำคัญในระบบการผลิตสินค้าของโรงงาน และนอกจากเครื่องจักรแต่ละชิ้นจะมีราคาสูงมากแล้ว การนำมาใช้ในระบบการผลิตจึงควรพิจารณาถึงความคุ้มค่าก่อนการเลือกซื้อ รวมทั้งทั้งยังต้องคำนึงถึงการวางแผนการซ่อมบำรุง เพื่อรักษาคุณภาพ และการใช้งานในระยะยาวอีกด้วย
5.ระบบความปลอดภัยในโรงงาน
การสร้างโรงงานผลิตเป็นขององค์กรธุรกิจ สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญและจะต้องมีก็คือ การวาง
ระบบความปลอดภัยในโรงงาน เนื่องจากภายในโรงงานนั้นจะเต็มไปด้วยเครื่องจักร และอุปกรณ์เทคโนโลยีต่าง ๆ มากมาย ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน หรือมีความผิดพลาดของอุปกรณ์ได้ตลอดเวลา การวางระบบความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ เช่น
- การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจสอบอุณหภูมิ
- ระบบแจ้งเตือนเมื่อเกิดเหตุ
- ระบบไฟฟ้า ที่ส่องสว่างมากพอ
- ชุดปฏิบัติการสำหรับพนักงาน โดยเฉพาะโรงงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีต่าง ๆ
- การว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย ในโรงงานมาเป็นที่ปรึกษาได้
6. คำนวณ วิเคราะห์ค่าใช้จ่ายว่าคุ้มหรือไม่
การมีโรงงานผลิตเป็นของตนเอง อาจส่งผลดีต่อการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจในหลาย ๆ ด้าน ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว แต่ก็ต้องมีต้นทุนในการเริ่มต้นค่อนข้างสูง เพราะต้องรวมทั้งค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ค่าเครื่องจักร ค่าบำรุงรักษา และค่าระบบรักษาความปลอดภัย จึงต้องพิจารณาให้ดีก่อนว่าจะต้องงบประมาณในการลงทุนมากน้อยเพียงใด ลงทุนสร้างโรงงานผลิตแล้วผลประกอบการที่ออกมานั้นคุ้มค่ากับการลงทุน และสามารถคืนทุนได้ภายในระยะเวลาเท่าไหร่
7. โรงงานผลิต จำเป็นต่อธุรกิจของเราหรือไม่
การสร้างโรงงานผลิตเป็นขององค์กรธุรกิจนั้น ๆ ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะนอกจากต้องใช้ต้นทุน จำนวนมาก ทุกกระบวนการผลิต การเก็บสินค้า และส่งสินค้าจากโรงงานผลิตไปสู่คลังสินค้ายังต้องมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน รวมทั้งค่าจ้างแรงงาน การมีทรัพยาบุคคลที่มีความรู้ความสามารถด้านการผลิตอย่างเพียงพอ การพิจารณาถึงความคุ้มค่าและความจำเป็นต่อการมีโรงงานผลิตเป็นขององค์กรจึงเป็นสิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญ หากผู้ประกอบการเป็นเข้าของธุรกิจขนาดเล็ก ส่งของหรือกระจายสินค้าต่อวันยังไม่มากนัก ยังไม่มีทีม R&D ผลิตหรือพัฒนาสินค้าประจำธุรกิจ หรืออยากได้เพียงคลังสินค้าเพื่อจัดเก็บเท่านั้น อาจยังไม่จำเป็นที่จะต้องสร้าง เนื่องจากยังมีตัวเลือกที่ทำได้และช่วยลดต้นทุนได้ดีกว่า เช่น
- การเช่าโรงงาน เช่าคลังสินค้าสำหรับจัดเก็บสินค้า
- การซื้อพื้นที่เพิ่ม เพื่อสร้างโกดังเล็ก ๆ ไว้เก็บสต็อกสินค้าเท่านั้น
- จ้างโรงงานอื่นผลิตสินค้า เช่น โรงงานรับผลิต OEM โรงงานรับผลิต ODM และโรงงานรับผลิต OBM
สำหรับผู้ประกอบการที่เพิ่งเริ่มต้นสร้างแบรนด์สินค้าเป็นของตนเอง หรือเป็นองค์กรธุรกิจขนาดเล็กที่ต้องการพัฒนาและขยายธุรกิจ การมีโรงงานผลิตสินค้าถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลให้การขยายธุรกิจเกิดผลลัพธ์และมีผลประกอบการตามเป้าหมาย แต่การสร้างโรงงานผลิตเป็นของตนเอง นอกจากเรื่องของการลงทุนแล้ว ยังมีข้อดีข้อด้อยที่ต้องพิจารณาให้เหมาะสมมากที่สุด เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจว่าการสร้างโรงงานผลิตมีความสำคัญ และมีข้อดีข้อด้อยต่อองค์กรธุรกิจ อย่างไร
1.ข้อดี ของการสร้างโรงงานผลิต เป็นขององค์กร
- การมีโรงงานผลิตเป็นขององค์กร ทำให้มีความสะดวกรวดเร็วในการบริหารการผลิต และช่วย
ให้ได้ปริมาณสินค้าที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
- การมีโรงงานผลิตเป็นของตนเอง สามารถต่อยอดและผลิตสินค้าได้หลากหลาย รองรับตลาด
และลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้สะดวกรวดเร็ว เหนือคู่แข่งด้านการตลาด
- การจัดการระบบการผลิตได้ดีและไหล การประยุกต์ใช้ระบบ อัปเกรด เพื่อพัฒนาสินค้าทำได้
ง่าย
- สร้างมาตรฐานให้กับองค์กร และสร้างมาตรฐานเชื่อมโยงข้อมูลในการผลิตได้มากขึ้น ส่งผล
โดยตรงต่อการบริหาร วางแผน หรือตัดสินใจในทางธุรกิจได้รวดเร็ว ประหยัดเวลาในการ
ดำเนินงาน เช่น เพิ่มคุณภาพหรือลดต้นทุนการผลิต
- การมีโรงงานผลิตเป็นขององค์กร ช่วยลดต้นทุนสินค้าคงคลัง เนื่องจากระบบโรงงานมีการ
จัดสรร ควบคุมและวางแผนการผลิตให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลดปัญหาสินค้าคงคลัง
ช่วยจัดการคลังสินค้าได้อย่างเป็นระบบมากขึ้น
- การมีโรงงานผลิตเป็นของตนเอง กรณีเป็นสินค้าที่ต้องใช้สูตรในการผลิต เช่น สินค้าประเภท
เครื่องสำอาง อาหารเสริม เครื่องดื่มและอาหาร หากเป็นสูตรที่ผ่านการพัฒนาจนยอดเยี่ยมแล้ว ก็ไม่ต้องกลัวว่าสูตรจะรั่วไหล ส่งผลให้สินค้าที่ผลิตมีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน เนื่องจากเจ้าของแบรนด์สามารถควบคุมการผลิตได้ทุกขั้นตอน
2.ข้อด้อย ในการสร้างโรงงานผลิต เป็นขององค์กร
ในการสร้างโรงงานผลิตเป็นขององค์กร แม้จะเป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับองค์กร สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตามปริมาณที่องค์กรกำหนดได้อย่างรวดเร็วตามความต้องการ แต่การสร้างโรงงานผลิตเป็นของตนเอง หากไม่ได้พิจารณาถึงความคุ้มค่าอาจทำให้มีข้อด้อยหรือข้อจำกัดที่เป็นปัญหาต่อผลประกอบการได้ ดังนี้
- การสร้างโรงงานมีค่าใช้จ่ายสูง ต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มมากขึ้น
- ต้องเลือกพื้นที่ในการสร้างโรงงานให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนด หากมีพื้นที่อยู่แล้วหากไม่
ได้เป็นไปตามกฎหมายกำหนด ก็ไม่สามารถสร้างได้ทำให้ต้องสิ้นเปลืองและต้องใช้ต้นทุนสูง
ในซื้อที่สร้างโรงงาน
- ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจ ต้องบริหารจัดการหรือต้องลงมือวางแผนทำเองในทุกขั้นตอน
ตั้งแต่การผลิต การออกแบบผลิตภัณฑ์
- ต้องเสียค่าใช้จ่าย และเสียเวลาในการวิจัยและพัฒนาสูตร ต้องมีทั้งเครื่องมือ นักวิจัย จ้าง
พนักงานผลิต และห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ที่พร้อม
- การบริหารการผลิตในภาพรวมค่อนข้างยุ่งยาก และยากต่อการควบคุมคุณภาพ หากไม่มีผู้ให้
คำปรึกษาในการผลิต
- ย้ายฐานการผลิตยาก ทำให้มีค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนสูง กรณีวัตถุดิบ และค่าจ้างแรงงานมีค่าใช้
จ่ายสูง ไม่สามารถย้ายฐานการผลิตไปยังแหล่งต้นทันและค่าจ้างแรงงานถูก ๆ ได้
การว่าจ้างโรงงานรับผลิต คือการที่ผู้จ้างผลิต ว่าจ้างให้โรงงานผลิตสินค้าในรูปแบบที่กำหนด
โดยที่องค์กรธุรกิจหรือผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องมีโรงงานผลิตเป็นของตนเอง เนื่องจากมีโรงงานรับผลิต หรือการจ้างผลิต ให้บริการอยู่มากมายหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าประเภทอาหารเสริม เครื่องสำอาง คอลลาเจน สบู่ ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้า ผิวกาย การผลิตอาหารและเครื่องดื่ม เช่น โรงงานรับผลิต OEM โรงงานรับผลิต ODM และโรงงานรับผลิต OBM โดยกระบวนการว่าจ้าง จะต้องมีการทำสัญญาจ้างผลิตสินค้า หรือสัญญาว่าจ้างพัฒนาและผลิตสินค้า ซึ่งก่อนตัดสินใจว่าจ้างควรผู้ประกอบการควรพิจารณารายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้
1.การทำสัญญาว่าจ้างพัฒนาหรือจ้างผลิตสินค้า
การทำสัญญาว่าจ้างพัฒนาหรือจ้างผลิตสินค้า จะจัดทำขึ้น 2 ฉบับระหว่างโรงงานรับผลิตและ ผู้ว่าจ้าง โดยที่ผู้ว่าจ้างให้ผู้รับจ้างผลิต ผลิตสินค้าต่าง ๆตามคุณสมบัติและคุณลักษณะที่ผู้จ้างผลิตกำหนดโดยเฉพาะเจาะจง โดยที่ผู้จ้างผลิตตกลงจะชำระค่าจ้างเพื่อตอบแทนการผลิตและอาจรวมถึงค่าวัตถุดิบ วัสดุ อุปกรณ์ ในกรณีที่ผู้รับจ้างผลิตเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบ วัสดุ และอุปกรณ์ และ/หรือค่าพัฒนาและออกแบบสินค้าในกรณีที่ผู้รับจ้างผลิตเป็นผู้พัฒนาและออกแบบสินค้านั้นด้วย
2.สัญญาจ้างผลิตสินค้า ควรมีรายละเอียดอะไรบ้าง
รายละเอียดในการจัดทำสัญญาว่าจ้างผลิตสินค้า หรือ พัฒนาและผลิตสินค้าที่จัดทำขึ้น จะเป็น
คู่สัญญา 2 ฝ่าย ได้แก่ ผู้จ้างผลิต ฝ่ายหนึ่ง และผู้รับจ้างผลิต อีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งรายละเอียดในสัญญาจะต้องระบุข้อความสำคัญในสัญญาว่าจ้างผลิตสินค้า โดยละเอียดและครบถ้วนเพื่อให้สามารถนำไปใช้อ้างอิงได้ถูกต้องตามกฎหมาย ดังนี้
- รายละเอียดของคู่สัญญา เช่น ชื่อ ที่อยู่ เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้อง
- รายละเอียดของสินค้าที่จ้างผลิต เช่น คุณสมบัติ คุณลักษณะเฉพาะ รวมถึง บรรจุภัณฑ์
วัตถุดิบ และวัสดุ จำนวนที่ผลิต ระยะเวลาสัญญา การส่งมอบและตรวจรับสินค้า และการ
รับประกันการผลิตและ/หรือตัวสินค้า
- รายละเอียดค่าตอบแทน เช่น อัตราค่าจ้าง ค่าบริการพัฒนา/ออกแบบ ค่าวัสดุอุปกรณ์ และ
กำหนดชำระ
- รายละเอียดกระบวนการผลิต เช่น แผนการผลิต มาตรฐานการผลิต การตรวจสอบและควบคุม
คุณภาพ
- รายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา เช่น สูตร กรรมวิธี การออกแบบ และเครื่องหมาย
การค้าที่ใช้กับสินค้า
- รายละเอียดข้อตกลงอื่น (ถ้ามี) เช่น การทดสอบและสินค้าตัวอย่าง หน้าที่การจดแจ้งหรือ
ขึ้นทะเบียนการผลิตสินค้ากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
การเริ่มต้นทำธุรกิจ หากเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ หรือเป็นองค์กรธุรกิจขนาดเล็กและขนาด
กลางที่มีจุดประสงค์หรือมีเป้าหมายในการทำธุรกิจ เพียงเพื่อต้องการสร้างยอดขาย และอยู่ในขั้นตอนการตัดสินใจว่าควรขยายหรือพัฒนาธุรกิจโดยการว่าจ้างโรงงานรับผลิตสินค้าแทนการสร้างโรงงานผลิตเป็นของตนเอง ซึ่งในกรณีนี้สิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาประกอบการตัดสินใจก็คือ ข้อดี ข้อด้อย ของการว่าจ้างโรงงานผลิตสินค้า
2. ข้อด้อย หรือข้อจำกัด ของการว่าจ้างโรงงานรับผลิต
การว่าจ้างโรงงานรับผลิต แม้จะมีข้อดีในหลาย ๆ ด้าน แต่ก็ยังมีข้อด้อยหรือข้อจำกัดที่ ผู้ประกอบการต้องพิจารณาให้ความสำคัญ เช่น ผู้ประกอบการที่ไม่มีสูตรผลิตภัณฑ์เป็นของตนเอง หากนักวิจัยไม่สามารถคิดค้นสูตรเฉพาะให้ได้ อาจจะต้องแชร์สูตรการผลิตกับแบรนด์อื่น ๆ ในท้องตลาด ทำให้สินค้าของเราไม่แตกต่างจากคู่แข่งด้านการตลาด หรือกรณีที่มีสูตรสินค้าเป็นของตนเอง การว่าจ้างโรงงานรับผลิตสูตรการผลิตของเราอาจไม่เป็นความลับ
โรงงานผลิต และประเภทของการจ้างผลิต
สำหรับผู้ประกอบการ หรือองค์กรธุรกิจที่ต้องการขยายธุรกิจ โดยการมีแบรนด์สินค้าเป็นของตนเอง รวมไปถึงองค์กรธุรกิจที่มีสินค้าอยู่แล้ว และต้องการมีแบรนด์สินค้าเพื่อขยายธุรกิจ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกระบวนการผลิตที่เป็นระบบ กรณีที่ยังเป็นองค์กรขนาดเล็กมีข้อจำกัดในเรื่องของเงินทุน ปัจจุบันผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องมีโรงงานผลิตเป็นของตนเอง เนื่องจากมีโรงงานรับผลิต หรือการจ้างผลิต ให้บริการอยู่หลายประเภท เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการที่ต้องการสร้างแบรนด์สินค้าเป็นของตนเอง เช่น การผลิต OBM ,ODM และ OEM
OBM ย่อมาจาก Original Brand Manufacturing หมายถึง โรงงานที่ผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์
ของผู้ผลิตเอง สามารถออกแบบสินค้า คิดค้นและพัฒนาสูตรได้เองสามารถผลิตสินค้าอื่น ๆ ได้เองตามปริมาณที่ต้องการ ไม่ต้องมีขั้นต่ำในการผลิต มีโรงงานและฝ่ายผลิตเป็นของตัวเอง รวมถึงดูแลกระบวนการผลิตได้ทุกขั้นตอน เหมาะกับผู้ที่มีแบรนด์สินค้าที่มั่นคงอยู่แล้ว สินค้าเป็นที่ต้องการของตลาด ธุรกิจเติบโตอย่างเต็มที่ มีการวางแผนการตลาด ออกแบบบรรจุภัณฑ์และจัดจำหน่ายสินค้าภายใต้แบรนด์ของตนเองได้เลย
ข้อดีของโรงงานผลิต OBM
- โรงงานประเภทนี้ สามารถควบคุมต้นทุน และลดต้นทุนในการผลิตได้มาก
- องค์กรธุรกิจ หรือผู้ประกอบการมีโรงงานเป็นของตนเอง สามารถผลิตได้ในจำนวนมาก ๆ
- สามารถปรับกลยุทธ์ในการผลิต และสร้างความเชื่อมั่นในแบรนด์สินค้าได้เหนือคู่แข่งด้าน
การตลาด
ข้อด้อยของโรงงานผลิต OBM
- มีความเสี่ยงในการแบกรับในการลงทุนเอง และไม่สามารถย้ายฐานการผลิตได้
- องค์กรธุรกิจหรือผู้ประกอบการ ต้องผลิต ออกแบบ และทำทุกอย่างเอง โดยไม่มีผู้ให้คำปรึกษา
ในการผลิต
ODM ย่อมาจาก Original Design Manufacturing หมายถึง โรงงานรับผลิตที่ออกแบบและ ผลิต
สินค้าให้กับบริษัทเพื่อนำไปขายในแบรนด์ตัวเอง โดยผู้รับจ้างจะมีความสามารถทั้งการผลิตและออกแบบ โดยสามารถพัฒนารูปแบบสินค้าได้เองและนำแบบสินค้านั้นไปเสนอขายให้ลูกค้าที่มีแบรนด์แล้ว หรือเป็นการออกแบบร่วมกัน ลักษณะการให้บริการของโรงงานรับผลิต ODM ได้แก่
- การออกแบบที่เป็น Exclusive คือการออกแบบให้เฉพาะราย โดยการออกแบบจะมีค่าใช้จ่ายที่
สูง เนื่องจากเป็นการออกแบบเฉพาะทำให้มีความแตกต่างจากคู่แข่งที่จำหน่ายสินค้าประเภท
เดียวกัน
- การออกแบบที่เป็น exclusive คือให้สิทธิในการออกแบบกับลูกค้าหลายราย และเป็นการ
ออกแบบที่มีค่าใช้จ่ายที่ถูกลง
ข้อดีของโรงงานผลิต ODM
- โรงงานผลิต ODM เหมาะกับผู้ประกอบการที่กำลังเริ่มต้นทำแบรนด์หรือเริ่มทำธุรกิจ เพราะไม่ต้องออกแบบเอง สามารถขายได้เลย
- กรณีเลือกออกแบบที่เป็น Exclusive ก็จะได้แบรนด์สินค้าที่ไม่ซ้ำใคร
- เจ้าของแบรนด์ไม่ต้องมีโรงงานเป็นของตัวเอง ช่วยลดต้นทุนการผลิตได้เป็นอย่างดี
- โรงงานมีผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาทางการผลิต และการออกแบบคอยดูแลอย่างใกล้ชิด\ข้อ
ด้อยของโรงงานผลิต ODM
- โรงงานผลิตประเภทนี้ ต้องมีเรื่องการออกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ทำให้มีต้นทุนและค่าใช้จ่ายการ
ผลิตที่สูงกว่า โรงงานประเภทอื่น
OEM ย่อมาจาก Original Equipment Manufacturer หมายถึง การผลิตสินค้าให้กับ ผู้ประกอบการหรือเจ้าของกิจการ โดยโรงงานรับผลิต OEM จะรับจ้างผลิตให้กับลูกค้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการตามแบบที่ลูกค้ากำหนด โดยติดชื่อแบรนด์ของผู้ประกอบการที่สั่งผลิต หรืออาจจะไม่ติดตราสินค้าเลยก็ได้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สั่งผลิต การรับผลิต OEM จะเริ่มตั้งแต่ การคิด วางแผน การออกแบบ และการใช้เครื่องจักรในการผลิต
สรุป ให้เห็นภาพง่าย ๆ ผู้รับจ้างผลิตสินค้า หรือโรงงานรับผลิต OEM ก็คือผู้ที่รับจ้างผลิตสินค้าตามแบบหรือตามความต้องการให้แก่ผู้ประกอบการ บริษัทผู้ว่าจ้าง หรือผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่มีโรงงานผลิตสินค้าเป็นของตนเอง ได้มีสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายในแบรนด์ของตนเอง
ข้อดีของโรงงานผลิต OEM
- เจ้าของแบรนด์ไม่ต้องมีโรงงานเป็นของตัวเอง ช่วยประหยัดงบประมาณในการลงทุน
- ช่วยลดต้นทุนการผลิต
- สามารถย้ายฐานการผลิตไปประเทศที่ต้นทุนต่ำกว่าได้ตลอด
- มีผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาทางการผลิตคอยดูแล
- เจ้าของแบรนด์ขนาดเล็กไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงในการดูแลกระบวนการผลิต
ข้อด้อยของโรงงานผลิต OEM
- มีต้นทุนการผลิตสูงกว่าผลิตเอง
- กรณีใช้สูตรกลาง สินค้าและคุณภาพอาจจะไม่แตกต่างจากแบรนด์อื่น ๆ มากนัก
โรงงานรับผลิต OEM สำคัญอย่างไรต่อการสร้างแบรนด์
สำหรับผู้ประกอบการหรือนักธุรกิจที่ต้องการมีแบรนด์สินค้าเป็นของตัวเอง การเริ่มต้นทำธุรกิจ อาจไม่ใช่เรื่องยาก ส่วนการเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์หรือมีแบรนด์สินค้าที่สามารถผลิตสินค้าออกจำหน่ายในท้องตลาดได้อย่างมีคุณภาพและการผลิตได้มาตรฐานตอบโจทย์ความต้องการนั้น ในอดีตอาจจะต้องมีโรงงานผลิตเป็นของตนเอง และเป็นองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ใช้งบประมาณในการลงทุนสูง ซึ่งต่างจากปัจจุบันที่มีโรงงานรับผลิตหลากหลายรูปแบบให้บริการและรับจ้างผลิต เช่น โรงงานรับผลิต OEM ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถมีสินค้าหรือแบรนด์เป็นของตนเองได้โดยไม่ต้องมีโรงงานผลิต ความสำคัญและบริการที่องค์กรธุรกิจหรือผู้ประกอบการจะได้รับจากโรงงานผลิต OEM นอกจากมีโรงงานรับผลิตสินค้าหลากหลายประเภท เช่น รับผลิตอาหารเสริม เครื่องสำอาง ครีมบำรุงผิว รวมทั้งเการผลิตสินค้าประเภทของกิน และยังให้บริการอย่างครอบคลุมครบทั้งวรจร ได้แก่
1. บริการจดใบรับรอง จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อย. หรือองค์กรอาหารและยา
2. บริการจัดหาวัตถุดิบ และสูตรส่วนผสมต่าง ๆ
3. ให้บริการคิดต้นสูตรและพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์
4. บริการวางแผนให้คำแนะนำด้านการตลาดและการจัดจำหน่าย
5. บริการออกแบบ และผลิตบรรจุภัณฑ์
สิ่งที่ต้องรู้ ในการสร้างแบรด์สินค้า จาก โรงงานรับผลิต OEM
บริษัทรับผลิต หรือโรงงานรับผลิต OEM คือ โรงงานที่มีเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการ
ผลิตอยู่แล้ว และรับผลิตสินค้าให้กับลูกค้าเพื่อนำไปติดแบรนด์ที่มีอยู่แล้วของลูกค้า หรือต้องการสร้างแบรนด์สินค้าขึ้นมาใหม่ ลักษณะการให้บริการของบริษัทหรือโรงงานประเภทนี้ ได้แก่
1. รับผลิตสินค้าให้กับลูกค้าเพื่อนำไปติดแบรนด์ที่มีอยู่แล้ว หรือผลิตสินค้าขึ้นมาเพื่อสร้าง
แบรนด์ใหม่ทำให้มีแบรนด์สินค้าเป็นของตนเอง
2. โรงงานประเภทนี้มักมีมาตรฐานการผลิตในระดับสากล มีเครื่องหมายรับรอง เชื่อถือได้ในเรื่องของคุณภาพในการผลิต
3. โรงงานรับผลิต OEM มีความหลากหลายในการให้บริการ เช่น รับผลิตอะไหล่รถยนต์ สมาร์ทโฟน ชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สินค้าแฟชั่น โปรแกรมซอฟต์แวร์ ผลิตภัณฑ์อาหารลดน้ำหนัก เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สำหรับสปา ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมบำรุงร่างกาย รวมไปถึงการรับผลิตอาหารและเครื่องดื่ม
4. รับผลิตพร้อมให้บริการบรรจุแพ็คสินค้าครบวงจร ในลักษณะพร้อมจำหน่าย
5. โรงงานรับผลิต OEM ส่วนใหญ่ให้บริการในรูปแบบ One-Stop-Service เป็นการให้บริการที่
ครอบคลุมครบทั้งวงจร จุดประสงค์เพื่อให้บริการมีความรวดเร็วขึ้น
การให้บริการแบบ One-Stop-Service หมายถึงการนำงานที่ให้บริการทั้งหมด เช่น การนำงาน
ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต และขั้นตอนการผลิตสินค้าทั้งหมดมารวมไว้ในสถานที่เดียวกัน เริ่มตั้งแต่การคิดค้นสูตร การเลือกวัตถุดิบ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การหีบห่อ ตลอดถึงการขนส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้าผู้สั่งผลิต การให้บริการแบบ One-Stop-Service จึงเป็นการให้บริการแบบครบวงจร ณ จุดเดียว ที่ มีข้อดีต่อผู้ประกอบการ ดังนี้
1. เพิ่มความสะดวก สบาย ให้กับองค์กรธุรกิจ และผู้ประกอบการ ที่ต้องการมีสินค้าหรือ
ผลิตภัณฑ์เป็นของตนเอง โดยไม่ต้องมีโรงงานผลิต
2. เพิ่มความรวดเร็วในการติดต่อและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้รวดเร็ว
3. บริการแบบ One-Stop-Service เพิ่มความสะดวกในการติดต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการขาย และการเป็นพาร์ทเนอร์
4. การให้บริการลูกค้าแบบ One-stop-service คือให้บริการแบบทีเดียวจบครบวงจร และยังเป็น
การเข้าถึงความต้องการของลูกค้าได้ดี ทั้งด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ การคิดต้นสูตร การบรรจุหีบห่อ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ และการวางแผนด้านการตลาด ซึ่งถือว่าเป็นข้อได้เปรียบทางการค้าเช่นกัน
5. ช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ เพราะสามารถย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำได้ เพราะมีโรงงานหรือบริษัทรับผลิตเปิดให้บริการอยู่ทุกประเทศ
6. โรงงานรับผลิตที่ให้บริการแบบ One-Stop-Service ส่วนใหญ่นอกจากมีความเชี่ยวชาญด้าน
การผลิต ยังส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อให้กระบวนการผลิตมีคุณภาพ สินค้าที่ได้จึงมีคุณภาพและมีจุดขายอยู่ในตัวสินค้านั้น ๆ อยู่แล้ว เช่น การประชาสัมพันธ์มุ่งเน้นไปที่กระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับสินค้าชนิดนั้น
7. โอกาสเป็นเจ้าของแบรนด์ทำได้ง่าย ทั้งผู้ประกอบและเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง ที่มีข้อจำกัดด้านเงินลงทุน เพราะไม่จำเป็นต้องมีเงินลงทุนสร้างโรงงานผลิตเป็นของตนเอง
8. หมดปัญหาด้านการตลาด เนื่องจากบริการแบบ One-Stop-Service นอกจากให้บริการด้านการผลิตแล้ว ส่วนใหญ่มีบริการให้คำปรึกษาด้านการตลาด พร้อมศึกษาช่องทางทำการตลาดให้กับลูกค้าที่มาสั่งผลิตตามประเภทของสินค้านั้น ๆ
9. สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ที่ต้องการมีสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างแบรนด์เป็นของตนเอง รวมถึงองค์กรธุรกิจ ที่ต้องการพัฒนาสินค้าซึ่งเป็นแบรนด์ที่ติดตลาดอยู่แล้ว ให้มีสินค้าที่หลากหลายมากขึ้น การใช้บริการแบบ One-Stop-Service ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจากไม่ต้องลงทุนวิจัยและพัฒนาเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์
10. รักษาคุณภาพมาตรฐานของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ได้ดี เพราะขั้นตอนการผลิตมีระบบที่ได้
มาตรฐาน และยิ่งเป็นสินค้าประเภทของกิน ทำให้สินค้าคงสภาพเดิม รสชาติไม่เปลี่ยนแปลง
การให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One-Stop-Service) เหมาะกับธุรกิจประเภทใดบ้าง
การให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ หรือ One-Stop-Service คือการทำงานในลักษณะที่ส่งต่อ
งานระหว่างกันทันที หรือเป็นการทำงานให้แล้วเสร็จในจุดให้บริการเดียว โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้การให้บริการมีความรวดเร็วขึ้น เนื่องจากเป็นการนำงานที่ให้บริการทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง มารวมให้บริการอยู่ในสถานที่เดียวกัน เหมาะกับธุรกิจหลายประเภท เช่น
1.การจำหน่าย และสร้างแบรนด์เครื่องสำอาง
2.การจำหน่ายและสร้างแบรนด์เวชสำอาง
3.การจำหน่ายและสร้างแบรนด์อาหารเสริม
4.การจำหน่าย และสร้างแบรนด์อาหารและผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป
5.การจำหน่ายอุปกรณ์และอะไหล่รถยนต์
6.การจำหน่าย และสร้างแบรนด์อาหารแช่แข็งพร้อมรับประทาน
7.การจำหน่าย และสร้างแบรนด์ผักแช่แข็ง ขนมหวานแช่แข็ง
23 มิ.ย. 2566
13 พ.ค. 2566