Last updated: 8 ก.ย. 2565 | 25406 จำนวนผู้เข้าชม |
สลัดผัก เมนูอาหารเพื่อสุขภาพที่มีพืชผักหลากหลายชนิดเป็นส่วนประกอบ เป็นอาหารไขมันต่ำที่รับประทานแล้วไม่อ้วน แต่ก็ขึ้นอยู่กับการเลือกน้ำสลัดและส่วนประกอบในเมนูนั้น ๆ ทั้งพืชผัก ธัญพืช และเนื้อสัตว์ หากเลือกส่วนประกอบและ น้ำสลัด ในแต่ละเมนูได้อย่างเหมาะสม ก็จะสามารถควบคุมปริมาณของไขมันที่บริโภคในแต่ละวันได้ และยังสามารถลดน้ำหนัก และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ ได้อีกด้วย เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสลัดผัก เมนูอาหารที่คนส่วนใหญ่เข้าใจว่ารับประทานแล้วไม่ทำให้อ้วนหรือช่วยลดน้ำหนักได้ แต่การจะลดน้ำหนักให้ได้ผล มีเรื่องราวที่น่าสนใจและควรรู้ ดังนี้
- สลัด เป็นเมนูอาหารที่ประกอบไปด้วยพืชผักหลากหลายชนิด นอกจากนั้นยังมีธัญพืช และเนื้อสัตว์ต่าง ๆ เป็นส่วนประกอบ ซึ่งส่วนผสมต่าง ๆ จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละเมนู และต้องเสิร์ฟคู่กับน้ำสลัดหรือน้ำปรุงเสมอ
- น้ำสลัดหรือน้ำปรุงมีหลายชนิด ส่วนใหญ่จะมีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน โดยลักษณะของรสชาติจะ
ขึ้นอยู่กับน้ำสลัดแต่ชนิด ซึ่งมีสูตรส่วนผสมที่แตกต่างกัน - นิยมเสิร์ฟสลัดเป็นเมนูเรียกน้ำย่อย โดยเสิร์ฟเป็นรายการแรกของมื้ออาหาร
- เสิร์ฟสลัดพร้อมน้ำสลัด รับประทานเป็นเครื่องเคียง ในเมนูอาหารหลักหรือเสิร์ฟพร้อมอาหารหลัก เช่น การรับประทานสเต็ก จะเสิร์ฟพร้อมสลัดผัก
-รับประทานสลัดเป็นอาหารหลัก อย่างเช่น สลัดเมนคอร์ส เป็นเมนูที่ประกอบไปด้วยอาหารที่มีโปรตีนสูงอย่างเนื้อไก่ แซลม่อน เนื้อวัว ถั่ว หรือ ชีส
-เสิร์ฟสลัดเป็นของหวาน ได้แก่เมนูสลัดที่ประกอบไปด้วยผลไม้ เจลาติน สารให้ความหวาน หรือวิปป์ครีม
- น้ำสลัด หรือน้ำปรุง มีสูตรส่วนผสมที่สำคัญ คือ น้ำมันมะกอก น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว ไข่แดง
มัสตาร์ด เกลือ และพริกไทย ปัจจุบันมีการผลิตน้ำสลัดชนิดปรุงสำเร็จออกมาจำหน่ายหลายชนิดและหลายแบรนด์
-เมนูสลัด หรือสลัดผัก ทุกเมนูจะประกอบไปด้วย ผัก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผักใบเขียว ธัญพืช
เนื้อสัตว์ เป็นส่วนประกอบหลัก และรับประทานคู่กับน้ำสลัด
-ผักและธัญพืชที่ใช้เป็นส่วนประกอบในเมนูสลัด แบ่งตามลักษณะการให้พลังงานได้เป็น 3
ประเภท สำหรับการเลือกรับประทานให้เหมาะกับการควบคุมน้ำหนัก เลือกได้ ดังนี้
- ผักที่ให้พลังงานน้อยมาก เช่น ผักกาดแก้ว เรดโอ๊ค กรีนโอ๊ค กะหล่ำปลี
- ผักที่ให้พลังงานปานกลาง เช่น บร็อคโคลี แครอท และข้าวโพดอ่อน
-ธัญพืชและผักหัว เช่น ฟักทอง ข้าวโพด ลูกเดือย ถั่วแดง มัน และเผือก
-เนื้อสัตว์ในเมนูสลัด ที่นิยมใช้เป็นส่วนประกอบ ได้แก่ ไข่ต้ม อกไก่อบ ปลาทอด หมูย่าง
-น้ำสลัดหรือน้ำปรุง แบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ สลัดน้ำใส และสลัดน้ำข้น
-สลัดน้ำใส เป็นน้ำสลัดที่ไม่ทำให้ร่างกายเกิดไขมันสะสม เพราะเป็นไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและมีส่วนประกอบหลักเป็นน้ำมันพืช
-สลัดน้ำข้น ส่วนผสมมักเพิ่มไข่ มายองเนส หรือชีส อาจทำให้มีไขมันอิ่มตัว เมื่อรับประทานหากร่างกายเผาผลาญไม่หมดก็สามารถ เปลี่ยนเป็นไขมันสะสมในร่างกายได้
สลัด กินย่างไรไม่ให้อ้วน
สลัด เป็นเมนูอาหารที่ต้องเสิร์ฟคู่กับน้ำสลัด โดยส่วนประกอบหลัก ๆ ของการทำน้ำสลัดก็คือน้ำมัน ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยดูดซึมวิตามินจากผักได้ดี เพราะไขมันมีส่วนช่วยให้ร่างกายดูดซึมวิตามินไปใช้งานได้ กรณีที่ร่างกายได้รับวิตามินแต่ไม่สามารถนำไปใช้งานได้ วิตามินก็จะถูกขับออกจากร่างกายไปตามธรรมชาติ เมนูสลัดหากต้องการกินเพื่อควบคุมน้ำหนัก ทำได้ ดังนี้
1. เลือกน้ำสลัด หากต้องการควบคุมน้ำหนัก ควรเลือกสลัดน้ำใสที่มีส่วนประกอบหลักเป็น น้ำมัน
มะกอก น้ำมันรำข้าว หรือน้ำมันงา เพราะเป็นไขมันอิ่มตัว และในเมนูนั้น ๆ ไม่ควรมีเนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง เช่น การนำไปทอด
2.เลือกผักสลัด เมนูสลัด หรือสลัดผักหากต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนักตัว ควรเน้น
ส่วนประกอบเป็นผักใบเขียวเข้ม ให้พลังงานน้อย เช่น ผักกาดแก้ว เรดโอ๊ค กรีนโอ๊ค กะหล่ำปลี ผักโขม และ บร็อคโคลี เป็นต้น
3.เลือกเนื้อสัตว์ สลัดที่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์ ควรเป็นเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่น เนื้ออกไก่อบ
ปลาทอด หมูย่าง และไข่ต้ม หรือเต้าหู้ นอกจากช่วยให้อิ่มนานแล้วไม่มีไขมันสะสมอยู่ในร่างกายอีกด้วย
4.เลือกผลไม้ สลัดผลไม้ หรือ เมนูสลัด ที่เสิร์ฟเป็นของหวาน ควรเลือกชนิดของผลไม้ที่มีน้ำตาล
น้อย เช่น ฝรั่ง แอปเปิ้ล แอปเปิ้ลเขียว ชมพู่ และแก้วมังกร สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงคือผลไม้กระป๋อง หรือผลไม้ตากแห้ง เพราะผ่านการแปรรูปมาแล้ว อาจทำให้มีน้ำตาลสูง
5.เครื่องแต่งหน้าจานสลัด ระวังสิ่งที่นำมาแต่งหน้าจานสลัด ควรหลีกเลี่ยงเครื่องโรยหน้าสลัด
เช่น หน้าถั่วเคลือบน้ำตาล เบคอน ขนมปังกรอบ เพราะให้พลังงานสูงและทำให้ไขมันเพิ่มขึ้น แม้กินปริมาณน้อยก็ตาม
สลัด เป็นเมนูอาหารที่มีส่วนประกอบหลัก ๆ เป็นพืชผักและผลไม้ เช่น สลัดผัก หรือสลัดผลไม้ รับประทานคู่กับน้ำสลัด ชนิดต่าง ๆ ส่วนใหญ่คนที่ต้องการลดน้ำหนักจะเลือกสลัดน้ำใส คู่กับสลัดผัก หรือเมนูสลัดที่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่น เนื้ออกไก่อบ หรือเนื้อปลา จากการปรุงด้วยวิธีนึ่ง อบ และย่าง โดยหลีกเลี่ยงการทอด การรับประทานสลัดอย่างถูกวิธี ช่วยลดความอ้วนได้ ดังนี้
1.สลัด หรือสลัดผัก เป็นเมนูอาหารที่ประกอบไปด้วย ผัก ธัญพืช เนื้อสัตว์ และน้ำสลัด ในส่วน
ของเนื้อสัตว์นิยมเนื้อปลา เนื้ออกไก่ หรือเนื้อชนิดอื่น ๆ ที่ไขมันต่ำ รวมถึงน้ำสลัดที่ให้พลังงานน้อย อย่างเช่น สลัดน้ำใส สลัดจึงเป็นเมนูอาหารที่เหมาะสำหรับคนลดน้ำหนักโดยเฉพาะการลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน
2.การรับประทานสลัด ที่สามารถควบคุมพลังงานตามที่ต้องการได้ ช่วยลดน้ำหนักได้อย่างเห็น
ผล เช่น
- การรับประทานสลัด ที่มีส่วนประกอบเป็นธัญพืช และฟักทอง ข้าวโพด ลูกเดือย ถั่วแดง
มัน เผือก ปริมาณ 1 ทัพพี ให้พลังงาน 80 กิโลแคลอรี
-การรับประทานสลัด ที่มีส่วนประกอบของ บร็อคโคลี แครอท ข้าวโพดอ่อน จำนวน 1
ทัพพี ให้พลังงาน 25 กิโลแคลอรี
- เมนูสลัด ที่มีส่วนประกอบเป็นไข่ต้ม 1 ฟอง จะให้พลังงาน 70 กิโลแคลอรี
- สลัด ที่มีเนื้อสัตว์ เช่น หมูย่างไม่ติดมัน 1 ชิ้น หรือเนื้อหมู 100 กรัม จะให้พลังงาน 235 กิโลแคลอรี
- น้ำสลัด มีหลากหลายรูปแบบ เช่น สลัดน้ำข้นและสลัดน้ำใส หากเป็นสลัดน้ำใส 1 ช้อนโต๊ะ ให้พลังงาน 45 กิโลแคลอรี และสลัดน้ำข้น 1 ช้อนโต๊ะให้พลังงานประมาณ 60 กิโลแคลอรี
3. พืชผักและผลไม้ ที่เป็นส่วนประกอบในเมนูสลัด มีกากใยอาหารสูง มีแคลอรี่ต่ำช่วยในการย่อย
อาหาร และทำให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติ การรับประทานสลัดจึงช่วยควบคุมน้ำหนักได้ดีและเห็นผลได้รวดเร็ว
4.สลัด สลัดผัก หรือสลัดผลไม้ เป็นอาหารที่มีไฟเบอร์สูง แคลอรี่ต่ำ เช่น แอปเปิล 100 กรัม ให้
พลังงาน 52 กิโลแคลอรี่ เนื้อแก้วมังกร 100 กรัม ให้พลังงานเพียง 60 แคลอรี่ กีวี 100 กรัม ให้พลังงาน 60 กิโลแคลอรี่ อะโวคาโด 100 กรัม ให้พลังงาน 160 แคลอรี่ หรืองฝรั่ง 100 กรัม ให้พลังงานเพียง 43 กิโลแคลอรี่เท่านั้น การรับประทานสลัดจึงช่วยควบคุมน้ำหนักได้อย่างเห็นผล
5.เลือกรับประทานสลัดผักในมื้อเย็น สำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก หาก
ต้องทำงานที่ใช้แรง หรือใช้พลังงานมาก และอาจเลือกรับประทานสลัดเพียงมื้อใดมื้อหนึ่งเท่านั้น ควรรับประทานในมื้อเย็นสามารถรับประทานได้ทั้งสลัดผัก สลัดที่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์ หรือสลัดผลไม้ ส่วนน้ำสลัดควรหลีกเลี่ยงสลัดน้ำข้นและเลือกเป็นสลัดน้ำใสแทน
แม้สลัด สลัดผัก หรือสลัดผลไม้ จะเป็นเมนูอาหารที่ได้รับความนิยมของกลุ่มคนรักสุขภาพ หรือคนที่ต้องการลดความอ้วนและควบคุมน้ำหนัก แต่การรับประทานสลัดเพื่อลดความอ้วนให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ นอกจากการรับประทานอย่างถูกวิธีแล้ว ยังมีเคล็ดลับที่น่าสนใจ ดังนี้
1.เน้นผักใบเขียวเข้ม ผักเป็นส่วนประกอบหลักของเมนูสลัด หากต้องการรับประทานเพื่อลด
น้ำหนัก ควรเลือกผักใบเขียวเข้ม อย่างเช่น ผักโขม บร็อกโคลี่ หรือกะหล่ำฝอย
2.ในเมนูสลัด ควรมีผักสีสันสดใสเป็นส่วนประกอบ เช่น มะเขือเทศ แครอท และเห็ดชนิดต่าง ๆ
เพราะนอกจากช่วยแต่งจานอาหารให้น่ารับประทานมากขึ้นแล้ว ผักที่มีสีสันเหล่านี้ยังเต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ มีใยอาหารช่วยดักไขมันและคอเลสเตอรอล ช่วยควบคุมน้ำหนักและลดความอ้วนได้อย่างเห็นผล
3.เพิ่มธัญพืชในเมนูสลัด เช่น ถั่วแดง ถั่วลันเตา ถั่วขาว เพราะมีกากใยอาหารและให้โปรตีนช่วย
ให้อิ่มท้อง ส่วนข้าวโพดนอกจากให้สีสันยังมีคุณค่าทางอาหารสูง แต่ก็ให้คาร์โบไฮเดรดสูง จึงไม่ควรใส่มากเกินไป หรือไม่เกิน 2 ช้อนโต๊ะ ใน 1 จาน
4.การเลือกรับประทานสลัดผลไม้ เพื่อควบคุมน้ำหนัก ควรเลือกผลไม้ที่มีน้ำตาลหรือให้รสหวาน
น้อย เช่น ฝรั่ง แอปเปิ้ล ชมพู่ แก้วมังกร หรือผลไม้อื่น ๆ หลีกเลี่ยงผลไม้ตากแห้งหรือผลไม้กระป๋อง
5.เพิ่มเนื้อสัตว์ในเมนูสลัด การรับประทานสลัด อาจทำให้รู้สึกหิวได้ง่าย ควรเพิ่มโปรตีนโดย
การใส่เนื้อสัตว์ไขมันต่ำในเมนูสลัด เช่น ไข่ต้ม แฮม อกไก่ ปลา หรือเต้าหู้ลงไป จะช่วยให้อิ่มนาน
6.การเพิ่มพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วอัลมอนด์ และถั่วหิมพานต์ เพื่อให้รู้สึกอิ่มและทำให้ร่างกายได้รับ
พลังงาน เพราะมีไขมัน (ดี) สูง ซึ่งไขมัน 1 กรัม ให้พลังงานถึง 9 แคลอรี่ แต่การรับประทานควรจำกัดปริมาณหรือควบคุมเพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานอย่างเหมาะสม
7.เลือกรับประทานสลัดผักเป็นหลัก สำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน
8.การรับประทานสลัด เพื่อต้องการลดความอ้วนหรือควบคุมน้ำหนัก น้ำสลัดควรเป็นสลัดน้ำใส
เท่านั้น เพราะให้พลังงานน้อยกว่าน้ำสลัดชนิดครีมที่มีส่วนผสมของมายองเนสและน้ำตาลสูง
9. วิธีรับประทานสลัด ควรคลุกเคล้าส่วนประกอบทั้งหมดกับน้ำสลัดให้เข้ากันดีก่อนที่จะ
รับประทาน เพราะบางคนอาจรับประทานโดยแยกน้ำสลัด กรณีนี้หากเลือกเป็นน้ำสลัดครีม จะทำให้เปลืองน้ำสลัดและทำให้ได้รับไขมันเพิ่มมากขึ้น
10.สำหรับการจัดเตรียมเมนูสลัดของคนที่ต้องการลดน้ำหนัก เมื่อล้างและหั่นผักเสร็จแล้ว ให้
เตรียมถุงซิบใส่แยกเป็นวันๆแล้วเก็บไว้ในตู้เย็น เพื่อความสะดวกในการรับประทาน หรือหิวเมื่อไหร่ก็สามารถหยิบมาปรุงได้เลยทันที หรือจะใส่กล่องไปที่ทำงานด้วยก็สะดวกขึ้นกว่าเดิม
ข้อควรระวังในการกินสลัด เพื่อลดน้ำหนัก
สลัดและสลัดผัก เป็นเมนูอาหารที่มีส่วนประกอบของพืชผักชนิดที่ให้เส้นใยสูง แต่ให้พลังงานน้อย เช่น ผักที่มีใบสีเขียวเข้ม สลัดผักจึงเป็นเมนูอาหารเพื่อสุขภาพที่คนส่วนใหญ่นิยมรับประทานเพื่อควบคุมน้ำหนักหรือลดความอ้วน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะสามารถลดน้ำหนักด้วยเมนูสลัดได้อย่างเห็นผล เพราะหากไม่ระวังเลือกน้ำสลัดและส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น เนื้อสัตว์ที่มีไขมันหรือผลไม้ที่มีรสหวานเป็นส่วนประกอบในเมนู ก็อาจทำให้การควบคุมน้ำหนักไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ข้อควรระวังในการรับประทานสลัดผัก เพื่อลดน้ำหนัก มีดังนี้
1. น้ำสลัดและการเลือกน้ำสลัด คนที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนักโดยการรับประทาน
สลัด แต่ไม่พิจารณาเลือกน้ำสลัด ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ สลัดน้ำข้น (มีส่วนประกอบของมายองเนส หรือชีส ที่เป็นไขมันอิ่มตัว) และสลัดน้ำใส (มีส่วนประกอบหลัก ๆ เป็นน้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว หรือน้ำมันงา ที่เป็นไขมันไม่อิ่มตัว และไม่เกิดการสะสมอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย)
2.การเพิ่มอาหารอื่น ๆ คู่กับเมนูสลัด หลายคนที่ต้องการลดน้ำหนักแต่การรับประทานสลัดเพียง
อย่างเดียวอาจทำให้รู้สึกหิว ทำให้ต้องเพิ่มอาหารอื่นเพื่อให้รู้สึกอิ่มท้อง เช่น คุกกี้ ซีเรียล หรือเนื้อสัตว์ที่ไม่ใช่ส่วนที่มีไขมันต่ำ เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วร่างกายเผาผลาญไม่หมดก็สามารถ เปลี่ยนเป็นไขมันสะสมในร่างกาย ทำให้การลดน้ำหนักไม่ได้ผล
3.เพิ่มปริมาณพืชผักและส่วนประกอบที่ชื่นชอบในเมนูสลัด แม้การรับประทานสลัด โดยเฉพาะ
สลัดผัก จะช่วยลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วนได้ แต่ส่วนประกอบในเมนูที่ไม่สมดุล โดยเลือกหรือเพิ่มปริมาณพืชผัก ผลไม้ หรือเนื้อสัตว์ชื่นชอบลงไป เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน ผักผลไม้ที่มีรสหวานมีน้ำตาลมาก อย่างเช่น ข้าวโพด หรืออื่น ๆ ก็ทำให้การลดน้ำหนักไม่ได้ผลหรือควบคุมน้ำหนักไม่ได้
4.เมนูสลัดมีส่วนประกอบของผลไม้อบแห้ง ผลไม้อบแห้งหลายชนิดนิยมนำมาเป็นสูตร
ส่วนประกอบในเมนูสลัดเพื่อช่วยเพิ่มรสชาติ เช่น ลูกเกดหรือสตรอเบอร์รี่ แต่ผลไม้อบแห้งเหล่านี้มีน้ำตาลและแคลอรี่ในปริมาณสูง เมื่อรับประทานโดยไม่ระมัดระวังก็ทำให้การลดน้ำไม่เกิดผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
5.การรับประทานสลัดคู่กับขนมปังกรอบ ในเมนูสลัดโดยเฉพาะสลัดพร้อมทานที่ทำขายเป็นชุด
ๆ นอกจากส่วนประกอบแล้ว ยังมีการตกแต่งเมนูสลัดให้น่ารับประทานหรือเพื่อสร้างความแตกต่างให้กับคู่แข่งด้านการตลาด อาจมีขนมปังกรอบเพิ่มมาในกล่องสลัด โดยปริมาณขนมปังกรอบ 1 ถ้วย มีเกลือสูงและ สามารถเพิ่มแคลอรี่ได้ 75 - 100 แคลอรี ในสลัด 1 จาน
6.การรับประทานสลัดสำเร็จรูป อาหารสำเร็จรูปรวมถึงสลัดเป็นเมนูอาหารที่ตอบโจทย์การใช้
ชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน เนื่องจากสะดวกรวดเร็ว แต่การรับประทานเพื่อต้องการลดความอ้วน หรือควบคุมน้ำหนักมีข้อควรระวัง เพราะนอกจากอาหารสำเร็จรูปจะมีสารกันบูดเพื่อยืดอายุและรักษาความสดของอาหาร อาจมีโซเดียม ไขมัน และน้ำตาล ในปริมาณสูง ทำให้การควบคุมน้ำหนักหรือลดความอ้วนไม่เห็นผลในระยะเวลาที่ต้องการ
7.ระวังปริมาณแคลอรี่จากการรับประทานสลัดคู่กับน้ำสลัดครีม โดยทั่วไปสลัด 1 จานอาจมี
แคลอรี่ประมาณ 120 กิโลแคลอรี่ แต่เมื่อรับประทานคู่กับน้ำสลัด เช่นน้ำสลัดครีมอาจมีแคลอรี่เพิ่มสูงถึง 400 แคลอรี่
8.การรับประทานเกล็ดเบคอนกรอบในเมนูสลัด เบคอนเป็นส่วนประกอบในเมนูสลัดที่หลาย ๆ
คนชื่นชอบ แต่รู้หรือไม่เบคอนเพียงชิ้นเล็ก ๆ ที่เรารับประทานเข้าไปก็สามารถเพิ่มปริมาณแคลอรี่ โซเดียม และไขมันทรานส์ ซึ่งเป็นไขมันที่นอกจากทำให้การลดความอ้วนหรือควบคุมน้ำหนักไม่ได้ผลแล้ว ยังเป็นสาเหตุของโรคอ้วนและเบาหวานอีกด้วย
9.การรับประทาชีสในเมนูสลัด ถือเป็นข้อควรระวังสำหรับคนที่ต้องการลดความอ้วนหรือ
ควบคุมน้ำหนัก เพราะชีสคือผลิตภัณฑ์นมที่เป็นแหล่งของโปรตีนและแคลเซียมที่ดี นิยมนำไปเป็นส่วนประกอบในอาหารหลากหลายเมนู นอกจากนั้นยังให้สารอาหารที่มีประโยชน์มากมาย แต่การรับประทานชีสในเมนูสลัด อาจเลือกรับประทาน ชีส ที่ทำจากไขมันต่ำ เพราะจะมีคลอเรสเตอรอล ต่ำด้วยเช่นกัน
10.การกินเนื้อสัตว์จากการทอดร่วมกับเมนูสลัด สำหรับการควบคุมหรือลดน้ำหนักโดยการ
รับประทานสลัด เพื่อเป็นการเพิ่มสารอาหารต่าง ๆ ให้กับร่างกายอาจเพิ่มเนื้อสัตว์เข้าไปในเมนูช่วยให้ได้รับสารอาหารประเภทโปรตีนเพิ่มขึ้น แต่ข้อควรระวังควรใช้วิธีการปรุงที่ถูกต้อง เช่น การย่าง การอบ หรือนึ่งแทนการทอด เพราะการทอดจะทำให้ปริมาณแคลอรี่ในสลัดขสูงขึ้น
สลัด เป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เนื่องจากในเมนูมีส่วนประกอบของพืชผักและอาหารอื่น ๆ ที่หลากหลาย ซึ่งล้วนมีประโยชน์ต่อร่างกาย มีคุณค่าค่าทางโภชนาการสูง และสิ่งสำคัญเป็นเมนูอาหารที่มีไขมันและปริมาณเกลือต่ำ แต่มีเส้นใยสูง สลัดจึงเป็นตัวช่วยของคนที่ต้องการลดหรือควบคุมน้ำหนัก เพราะ สามารถควบคุมปริมาณของไขมันที่บริโภคในแต่ละวัน นอกจากช่วยลดน้ำหนักอย่างได้ผลแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
การรับประทานสลัด จึงมีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลาย ๆ ด้านไม่เฉพาะเพื่อลดความอ้วนหรือควบคุมน้ำหนักเท่านั้น เพราะพืชผักหลายชนิดที่เป็นส่วนประกอบในเมนูสลัดมีสรรพคุณทางยา และมีคุณสมบัติช่วยเสริมสร้างสุขภาพเป็นสมุนไพรที่ใช้รักษาหรือต้านโรคต่าง ๆ ได้ด้วย พืชผักและส่วนประกอบในเมนูสลัดที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและเป็นอาหารไขมันต่ำ มีดังนี้
1.ผักสลัด และผักใบเขียวต่าง ๆ
ผักสลัด และผักใบเขียวหลายชนิดที่นิยมนำมาเป็นส่วนประกอบในเมนูสลัด เช่น ผักกาดหอม
กะหล่ำปลี และผักใบเขียวอื่น ๆ เป็นอาหารไขมันต่ำ มีสารต้านมะเร็งและสารต้านอนุมูลอิสระ และยังเป็นแหล่ง วิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น แคลเซียม โพแทสเซียม วิตามินเอ รวมทั้งใยอาหาร ที่ช่วยป้องกันอาการท้องผูก และช่วยควบคุมน้ำหนักตัวได้ดี เมื่อเลือกรับประทานคู่กับน้ำสลัด เช่น สลัดน้ำใส จะช่วยควบคุมและลดน้ำหนักได้อย่างรวดเร็ว
2.ผลไม้ให้แคลอรีที่ต่ำ
ผลไม้ เป็นส่วนประกอบกหนึ่งในเมนูสลัด เช่น สลัดผลไม้ ซึ่งนิยมเสิร์ฟเป็นเมนูของหวาน
หรืออาหารว่าง โดยเฉพาะคนที่ต้องการควบคุมอาหารหรือลดน้ำหนัก ผลไม้มีกากใยอาหารสูง ไขมันต่ำและให้แคลอรีที่ต่ำ มีหลายชนิดที่นิยมบริโภคและใช้เป็นส่วนประกอบในสลัด เช่น
- มะเขือเทศราชินี 100 กรัม ให้พลังงาน 30 แคลอรี่
- แตงโม 100 กรัม ให้พลังงาน 30 แคลอรี่
- สตรอเบอรี่ 100 กรัม ให้พลังงาน 33 แคลอรี่
- แคนตาลูป 100 กรัม ให้พลังงาน 37 แคลอรี่
-ชมพู่ 100 กรัม ให้พลังงาน 42 แคลอรี่
-สารี่ 100 กรัม ให้พลังงาน 42 แคลอรี่
- มะละกอสุก 100 กรัม ให้พลังงาน 43 แคลอรี่
-สับปะรด 100 กรัม ให้พลังงาน 50 แคลอรี่
-มะม่วงแรดดิบ 100 กรัม ให้พลังงาน 51 แคลอรี่
-แอปเปิล 100 กรัม ให้พลังงาน 52 แคลอรี
- บลูเบอร์รี่ 100 กรัม ให้พลังงาน 57 แคลอรี
-ฝรั่ง 100 กรัม ให้พลังงาน 60 แคลอรี
-แก้วมังกร 100กรัม ให้พลังงาน 60แคลอรี
-กีวี 100 กรัม ให้พลังงาน 60 แคลอรี่
- องุ่นดำไร้เมล็ด 100 กรัม ให้พลังงาน 67 แคลอรี่
-เมล่อน 100 กรัม ให้พลังงาน 68 แคลอรี่
1.ธัญพืชเต็มเมล็ด
ธัญพืชมีคุณค่าทางอาหารสูง และยังอุดมไปด้วยประโยชน์ที่ช่วยสร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรง
นอกจากนั้น ธัญพืชยังเป็นแหล่งสำคัญของวิตามินอี วิตามินบี แมกนีเซียม ซิงค์ และใยอาหาร เป็นอาหารไขมันต่ำ เหมาะสำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนักและยังดีต่อสุขภาพสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานได้อีกด้วย ธัญพืชเต็มเมล็ด เป็นอาหารไขมันต่ำที่นิยมใช้เป็นส่วนประกอบในเมนูสลัด มีดังนี้
- ลูกเดือย ธัญพืชเม็ดเล็กสีขาว มีใยอาหารสูง ช่วยในการย่อยอาหาร และช่วยลด
คอเลสเตอรอส และมีคาร์โบไฮเดรตเช่นเดียวกับข้าว เมื่อนำมาเป็นส่วนประกอบในเมนูสลัด จึงช่วยทำให้อิ่มท้อง
-ข้าวโพด เป็นธัญพืชที่ให้แคลอรีและวิตามิน A สูงที่สุดในบรรดาธัญพืชทั้งหมด มีกากใย
สูง ช่วยในการทำงานของระบบขับถ่าย แต่มีน้ำตาลและให้รสชาติหวาน การนำมาเป็นส่วนประกอบในสลัดจึงต้องจำกัดปริมาณ เช่น สลัด 1 จานไม่ควรมีข้าวโพดเป็นส่วนประกอบ เกิน 2 ช้อนเพื่อควบคุมพลักงาน
-ข้าวโอ๊ต เป็นธัญพืชที่ให้พลังสูง และเป็นพลังงานที่ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ทันที ที่
สำคัญยังมีไขมันต่ำ เหมาะสำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนัก ซึ่งนอกจากทานข้าวโอ๊ตอบแห้งควบคู่กับนมในมื้อเร่งด่วนแล้ว ยังนิยมนำมาเป็นส่วนประกอบในเมนูสลัดเพื่อทำให้อิ่มท้องอีกด้วย
-ถั่วชนิดต่าง ๆ ถั่วเป็นธัญพืชที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ และมีไขมันดีสามารถช่วย
ลดคอเลสเตอรอลและควบคุมน้ำหนักได้ดี ไม่ว่าจะเป็น ถั่วลิสง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วดำ หรือถั่วแดง ยังเป็นแหล่งโปรตีน ที่สามารถทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้เป็นอย่างดี การนำมาเป็นส่วนประกอบในเมนูสลัด เช่น สลัดผักยังช่วยให้อิ่มท้องไม่รับประทานจุกจิกอีกด้วย
- อัลมอนด์ นอกจากเป็นธัญพืชที่นินมนำมาเป็นส่วนประกอบในอาหารคาวหวาน หรือเป็น
ของว่างทานเล่นของคนที่กำลังลดน้ำหนักแล้ว ยังเป็นส่วนประกอบในเมนูสลัดผักรับประทานคู่กับน้ำสลัด ชนิดสลัดน้ำใสสำหรับคนที่ต้องการควบคุมน้ำหนักเพื่อช่วยให้อิ่ม เพราะอุดมไปด้วยโปรตีนและไฟเบอร์
2. เนื้อสัตว์ เนื้อสัตว์แปรรูป และไข่
เนื้อสัตว์ที่ใช้เป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบในเมนูสลัดมีหลากหลายชนิด ขึ้นอยู่กับความชื่น
ชอบ เช่น เนื้อกุ้งลวกสุก เนื้อปลา เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อ ไส้กรอก และเนื้อสัตว์แปรรูปอื่น ๆ หรับคนรักสุขภาพและต้องการควบคุมน้ำหนัก ส่วนที่เปน็นเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ ได้แก่
-ไข่ต้ม ถือเป็นเนื้อสัตว์ไขมันต่ำที่นิยมใช้เป็นส่วนประกอบในเมนูสลัดทุกชนิด ทั้งเมนูสลัด
ผัก สลัดเนื้อสัตว์อื่น ๆ และเมนูสลัดไข่
-เนื้ออกไก่ เป็นส่วนที่ไขมันต่ำ การนำมาเป็นส่วนประกอบในเมนูสลัด เช่น เนื้ออกไก่ต้ม
เนื้ออกไก่อบหรือย่าง
-เนื้อหมู เช่น สลัดหมูย่าง หมูอบ หรือเมนูอื่น ๆ มีหลากหลายสูตร
-เนื้อสัตว์อื่น ๆ เช่น สลัดเนื้อสัน สลัดเนื้อย่าง หรือสลัดเนื้ออบ
-สลัดซีฟู้ด หรือสลัดทะเล ประกอบด้วยเนื้อปลา กุ้ง ปู และอื่น ๆ
3. เห็ด
เห็ด เป็นส่วนประกอบในเมนูสลัด ซึ่งล้วนแล้วแต่ก็เป็นอาหารไขมันต่ำ มีคุณค่าทางสารอาหาร
สูง และยังมีหลากหลายหลายชนิด เช่น เห็ดโคน เห็ดออรินจิ เห็ดเข็มทอง เห็ดหอม และอื่น ๆ การนำมาเป็นส่วนประกอบในเมนูสลัดมีหลายรูปแบบ สำหรับคนที่ต้องการควบคุมน้ำหนักอาจนำเห็ดย่างเป็นส่วนประกอบในเมนูสลัดผักหรือสลัดเมนูอื่น ๆ คู่กับน้ำสลัดชนิดสลัดน้ำใส เพื่อเพิ่มรสชาติและแต่งจานสลัดให้น่ารับประทานมากยิ่งขึ้น
ผักสลัดเพื่อสุขภาพ และการเลือกผักสลัด
ผักสลัดหลากหลายชนิด อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ และให้ประโยชน์แก่ร่างกาย นอกจากเป็นส่วนประกอบหลักในเมนูสลัดเพื่อสุขภาพ ทั้งสลัดผัก และเมนูสลัดอื่น ๆ ผักสลัดหลายชนิดยังมีสรรพคุณทางยา เป็นพืชสมุนไพรที่ช่วยต้านโรคภัย และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย โดยผักสลัดที่นิยมรับประทานและนำมาเป็นส่วนประกอบในเมนูสลัด มีดังนี้
1.ผักกาดหอม
ผักกาดหอม เป็นผักที่นิยมนำมาแต่งงานอาหารในหลาย ๆ เมนู และรับประทานเป็นผักเคียง
รวมทั้งใช้เป็นส่วนประกอบในเมนูสลัดรับประทานคู่กับน้ำสลัดชนิดต่าง ๆ ประโยชน์จากการกินผักกาดหอมช่วยให้นอนหลับง่าย ขับปัสสาวะ ล้างพิษ ขับเหงื่อ และมีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด
วิธีเลือกผักซื้อผักกาดหอม ควรเลือกผักที่มีใบสีเขียวสด ไม่มีรอยช้ำ ใบของผักติดอยู่กับโคนต้นแน่น รอยตัดที่ก้านยังสดอยู่ การเก็บรักษาเมื่อล้างและสะเด็ดน้ำแล้วให้นำใส่ถุงพลาสติกแล้วนำเข้าตู้เย็นจะเก็บไว้รับประทานได้นานหลายวัน
2.กะหล่ำปลี
กะหล่ำปลี เป็นผักที่นิยมนำมาเป็นส่วนประกอบในเมนูสลัด ทั้งสีเขียวและสีม่วง โดยหั่นหรือ
ซอยให้เส้นเล็กเป็นฝอยสวยงาม นอกจากช่วยเพิ่มรสชาติให้สลัดแล้ว ยังตกแต่งจานสลัดให้มีสีสันสวยงามน่ารับประทานยิ่งขึ้น ส่วนสรรพคุณและประโยชน์ของกระหล่ำปลี ได้แก่ ช่วยลดคอเลสเตอรอล และมีปริมาณแคลอรี่ไม่สูง เหมาะสำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนัก
วิธีเลือกซื้อกะหล่ำปลี ให้เลือกที่ใบยังห่อกันแน่น เพราะกะหล่ำปลีที่เก็บไว้นานใบจะหลวม ไม่เหี่ยว ไม่มีรอยช้ำหรือเน่าเสีย การนำมาประกอบอาหารหรือใช้เป็นส่วนประกอบในเมนูสลัด ควรแช่ในน้ำนาน 15 นาที จากนั้นเปิดน้ำไหลผ่านประมาณ 2 นาที ช่วยให้ผักสะอาดยิ่งขึ้น
3.ผักกาดแก้ว
ผักกาดแก้ว มีรสชาติหวานกรอบ ลักษณะใบนิ่ม สีเขียวอ่อน ก้านใบสีขาว ฉ่ำน้ำ มีความกรอบ
และมีคุณค่าทางอาหารให้พลังงาน แคลเซียม โปรตีน ไขมัน เหล็ก และมีฮีโมโกลบินช่วย ต้านมะเร็ง และ รักษาโรคโลหิตจา การรับประทานผักกาดแก้ว 100 กรัม ให้พลังงาน 27 กิโลแคลอรี จึงเป็นผักสลัดที่เหมาะสำหรับคนที่ต้องการลดความอ้วนหรือควบคุมน้ำหนัก
วิธีเลือกซื้อผักกาดแก้ว เพื่อให้ได้ผักสลัดที่ยังสดและกรอบ ให้เลือกจากหัวที่มีใบสีเขียว สด ไม่มีรอยช้ำ และตัวใบยังติดกับโคนแน่น รอยตัดที่ก้านว่ายังสดอยู่ หากรับประทานไม่หมดในครั้งเดียว ให้ใส่ในถุงพลาสติกแล้วแช่ในตู้เย็น สามารถเก็บไว้รับประทานได้หลายวันโดยผักยังสดและกรอบ
4.กรีนโอ๊ค
กรีนโอ๊ค เป็นผักสลัดที่นิยมรับประทานกันมากที่สุด ลักษณะเป็นพุ่มๆ ใบหยัก มีสีเขียว และมี
แคลอรีต่ำ แต่กากใยอาหารสูง มีสรรพคุณช่วยย่อยอาหารได้ง่าย จึงเป็นผักที่นิยมนำมาเป็นส่วนประกอบในสลัดผัก เพราะเหมาะกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก ลดความอ้วน อีกทั้งยังมีวิตามินสูง ช่วยบำรุงสายตา บำรุงระบบประสาท และกล้ามเนื้อ
วิธีเลือกซื้อกรีโอ๊ด ผักสลัดชนิดนี้ส่วนใหญ่เป็นผักที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์ นอกจากการ
เลือกซื้อจากห้างสรรพสินค้า หรือซุปเปอร์มาเก็ตทั่วไปแล้ว การเลือกซื้อจากฟาร์มโดยตรงจะมีข้อดีหลายอย่าง เช่น มั่นใจเรื่องคุณภาพของผัก ได้ผักที่สดและได้เห็นกรรมวิธีการปลูก ได้เห็นสภาพแวดล้อมของฟาร์มเพื่อสร้างความมั่นใจว่าผักสลัดที่เรารับประทานไม่มีสารตกค้างจากการใช้ยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดเชื้อโรคต่าง ๆ และนอกจากนั้นฟาร์มผักบางแห่งยังขายผักสลัดควบคู่กับน้ำสลัด ช่วยให้คนที่ต้องการลดความอ้วนมีความสะดวกสบายมากขึ้น
1.เรดโอ๊ค
เรดโอ๊ค เป็นผักสลัด ที่มีลักษณะเป็นผักใบสีแดงเข้ม เมื่อนำมาเป็นส่วนประกอบในสลัดผักยัง
ช่วยเพิ่มสีสันให้จานสลัดน่ารับประทานยิ่งขึ้น เรดโอ๊ค เป็นผักที่มีกากใยอาหารสูง ช่วยกำจัดไขมันส่วนเกิน มีธาตุเหล็กและวิตามินซีสูง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นหวัด ลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ และกระตุ้นระบบขับถ่ายให้ทำงานเป็นปกติ
วิธีเลือกซื้อเรดโอ๊ค ควรเลือกผักที่มีใบยังสด ไม่เหี่ยว ไม่มีรอยช้ำ ใบของผักติดอยู่กับโคนต้น
แน่น นอกจากนั้น ผักสลัดชนิดนี้ส่วนใหญ่เป็นผักที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์ การเลือกซื้อจากฟาร์มโดยตรง ช่วยให้ได้ผักสลัดที่สดใหม่ สามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน
2.เรดคอรัล
เรดคอรัล เป็นผักสลัดนิยมปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์ มีลักษณะเป็นพุ่ม ใบมีสีแดงอมม่วง
ปลายใบหยักฟู ให้แคลอรีต่ำ รสชาติขม กรอบ มีวิตามินบี วิตามินซีสูง และมีไฟเบอร์ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก มีแร่ธาตุหลายชนิดที่ดีต่อร่างกาย ด้วยรสชาติขม และกรอบ การนำมาเป็นส่วนประกอบในเมนูสลัดผัก ช่วยเพิ่มรสชาติให้กลมกล่อมแตกต่างจากเมนูสลัดทั่วไป
วิธีเลือกซื้อ เรดคอรัล คล้ายกับการเลือกผักสลัดที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์ ทั่วไป ได้แก่การเลือกผักที่มีใบยังสด ไม่เหี่ยว ไม่มีรอยช้ำ รากของผักที่สดและมีคุณภาพดีจะมีสีขาว และยาวพอประมาณ
สลัด คือเมนูอาหารเพื่อสุขภาพที่ได้รับความนิยม โดยเฉพาะคนที่ต้องการควบคุมน้ำหนักหรือลดความอ้วนอย่างเร่งด่วน เนื่องจากส่วนประกอบหลัก ๆ ในเมนูสลัดเป็นพืชผัก และธัญพืชหลากหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ มีใยอาหารสูง รับประทานแล้วไม่ทำให้อ้วน เพราะไขมันต่ำ และเป็นเมนูอาหารที่ต้องรับประทานคู่กับน้ำสลัด ในส่วนของการบริโภคสลัดเพื่อลดความอ้วน ผลลัพธ์ที่ได้จะสามารถควบคุมน้ำหนักหรือลดความอ้วนได้อย่างรวดเร็วตามความต้องการหรือไม่การเลือก น้ำสลัด ก็เป็นส่วนประกอบสำคัญ หากมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับส่วนประกอบและประเภทของน้ำสลัด ก็จะช่วยให้การลดน้ำหนักได้ผลดียิ่งขึ้น
·
น้ำสลัด คือ น้ำปรุงรสหรือซอสปรุงรส ที่ใส่ในสลัดหรือรับประทานคู่กับสลัด เป็นการเพิ่ม
รสชาติให้กับเมนูสลัดจานนั้น ๆ เพราะการทำสลัดจะอร่อยได้ ส่วนประกอบไม่ได้มีเพียงเครื่องสลัดที่สดใหม่ และมีคุณภาพเท่านั้น แต่ต้องอาศัยน้ำสลัด เป็นตัวเพิ่มรสชาติให้สลัดแต่ละจานน่ารับประทาน มีกลิ่นและรสชาติที่อร่อยมากยิ่งขึ้น ส่วนมากทำมาจากน้ำมันมะกอก น้ำส้มสายชู ไข่แดง และมัสตาร์ด ปรุงรสด้วยน้ำตาล เกลือ และพริกไทย ซึ่งนอกจากน้ำสลัดสูตรต่าง ๆ จะช่วยเพิ่มรสชาติให้กับสลัดแต่ละเมนูแล้ว ยังเพิ่มคุณค่าให้สลัดมีสารอาหารทางโภชนาการครบถ้วน เช่น น้ำมันมะกอกที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในน้ำสลัดเป็นไขมันที่ดีต่อร่างกาย เพราะเป็นไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ความหวานจากน้ำตาลให้พลังงานแก่ร่างกาย ไข่มีโปรตีนสูง ผักผลไม้ และเครื่องเทศสมุนไพร มีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคอีกด้วย
น้ำสลัด เป็นน้ำปรุงที่มีรสชาติเข้มข้น สำหรับสูตรส่วนผสมและวิธีการปรุงก็จะแตกต่างกัน
ออกไป เช่น การปรุงโดยการตีให้ส่วนผสมเข้ากัน หรือการผสมให้เครื่องปรุงต่าง ๆ รวมตัวกัน คุณค่าทางสารอาหารหรือปริมาณแคลลอรี่ก็จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทหรือชนิดของน้ำสลัด ซึ่งหลัก ๆ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สลัดน้ำใส และสลัดน้ำข้น ดังนี้
1. สลัดน้ำใส
น้ำสลัด ชนิดน้ำใสจะมีลักษณะเป็นน้ำปรุงใส ๆ มีน้ำมันเป็นเครื่องปรุงหลักและไม่ใส่ไข่หรือ
ไข่แดงเป็นสูตรส่วนผสม แต่จะใส่เครื่องปรุงและเครื่องเทศสมุนไพรสดต่าง ๆ เพื่อแต่งกลิ่นหอม มีรสชาติเปรี้ยวนำ เค็ม และหวานเล็กน้อย เมื่อปรุงเสร็จแล้วเนื้อของน้ำสลัดจะมีการรวมตัวกันชั่วคราว เมื่อวางพักไว้ เครื่องปรุงต่าง ๆ ที่เป็นส่วนผสมจะแยกตัวกันเป็นชั้น เมื่อต้องการรับประทานต้องตีหรือเขย่าให้เข้ากันอีกครั้งก่อนนำมาคลุกเคล้ากับผักสลัด
2. สลัดน้ำข้น
น้ำสลัด ชนิดน้ำข้นจะให้พลังงานสูงเพราะมีส่วนประกอบของโปรตีนและไขมัน เช่น ไข่
น้ำตาล นมข้น น้ำส้มสายชู น้ำมันพืชหรือน้ำมันสลัด และเครื่องเทศต่าง ๆ ทำให้เนื้อของน้ำสลัดมีความข้นจากการรวมตัวกันอย่างถาวรของส่วนผสมและเครื่องปรุง ไม่มีการแตกตัวหรือแยกชั้น แม้จะตั้งทิ้งไว้นาน มีรสชาติเค็ม มัน และเปรี้ยว
สลัดน้ำใส ไขมันต่ำ กินแล้วไม่อ้วน
1. น้ำสลัดงา
2. น้ำสลัดอิตาเลียน
3. น้ำสลัดฝรั่งเศส
4. น้ำสลัดบัลซามิก
5.น้ำสลัดน้ำใสพริกไทย
สลัดน้ำข้น มีอะไรบ้าง
1.น้ำสลัดครีมสูตรไขมันต่ำ
2.น้ำสลัดครีม
3.น้ำสลัดซีซาร์
4.น้ำสลัด เทาซัน ไอร์แลนด์
5. น้ำสลัดครีมเลมอน
6.น้ำสลัดครีมซีฟู้ด
7. น้ำสลัดครีมวาซาบิ
8.น้ำสลัดโยเกิร์ต
9. น้ำสลัดโบราณ
สรุป
สลัดและสลัดผักที่เสิร์ฟคู่กับน้ำสลัด เป็นเมนูอาหารเพื่อสุขภาพที่เหมาะสำหรับทุกคนไม่เฉพาะคนที่ต้องการควบคุมน้ำหนักหรือลดความอ้วนเท่านั้น เนื่องจากส่วนประกอบหลัก ๆ ซึ่งเป็นพืชผัก และธัญพืช ล้วนอุดมไปด้วยใยอาหาร และสารอาหารที่ให้คุณค่าต่อร่างกาย รวมทั้งเนื้อสัตว์ส่วนใหญ่มีไขมันต่ำ เพราะผ่านกระบวนการอบ นึ่ง ย่าง และหลีกเลี่ยงการทอด ในส่วนของน้ำสลัดยังมีหลากหลายสูตรให้เลือกรับประทานตามความชื่นชอบ ทั้งสลัดน้ำข้นและน้ำใส ซึ่งหลายสูตรมีส่วนผสมเป็นเครื่องเทศหรือสมุนไพรที่เป็นประโยชน์และดีต่อสุขภาพ และการรับประทานสลัดก็ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากเพียงจัดเตรียมผักและส่วนประกอบอื่น ๆ เท่านั้นไม่จำเป็นต้องทำหรือปรุงน้ำสลัดด้วยตนเอง เพราะปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์น้ำสลัดสำเร็จรูปให้เราเลือกซื้อมากมายหลากหลายแบรนด์ เพียงเลือกผู้ผลิตที่มีคุณภาพและเป็นผลิตภัณฑ์น้ำสลัดที่ได้มาตรฐาน ก็ทำให้สลัดที่เรารับประทานเป็นเมนูอาหารเพื่อสุขภาพได้แล้ว
27 ก.พ. 2567
1 ธ.ค. 2566